วันเสาร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2556

The World's Rebirth


The World is Rebirth

กำเนิด โลกมนุษย์





  เริ่มแรก ก่อนที่เราจะพูดถึงโลก เรามารู้จักกับที่อยู่ของโลกกันก่อน นั่นก็คือเอกภพหรือจักรวาลนั่นเองครับ..
  จักรวาล(หรือเอกภพ) เป็นระบบที่ใหญ่ที่สุดและไร้ขอบเขต และเป็นห้วงอวกาศที่เต็มไปด้วยดวงดาวจำนวนมหาศาล ซึ่งเราจะเรียกดวงดาวที่เกาะกันเป็นกลุ่มว่า กาแล็กซี  และในแต่ละกาแล็กซี ก็จะมีระบบของดาวฤกษ์ กระจุกดาว เนบิวลา หลุมดำ อุกกาบาต ฝุ่นผง กลุ่มก๊าซ และที่ว่างอยู่รวมกันอยู่ ซึ่งก็โลกอยู่ในกาแล็กซีหนึ่ง ที่เรียกกันว่า กาแล็กซีทางช้างเผือก นั่นเอง
  





   สำหรับต้นกำเนิดที่แท้จริงของ เอกภพ นั้น ที่จริงมีอยู่หลายทฤษฎี แต่ทฤษฎีที่ได้รับการยอมรับจากนักดาราศาสตร์มากที่สุดในปัจจุบัน ก็คือ ทฤษฎีบิ๊กแบง (Big Bang Theory) ของ จอร์จ เลอแมตร์ ที่เชื่อกันว่า เอกภพเริ่มต้นจากความเป็นศูนย์ ไม่มีเวลา ไม่มีแม้แต่ความว่างเปล่า และเอกภพกำเนิดขึ้นโดยการระเบิด ซึ่งหลังจากการระเบิดนั้น เอกภพ ก็เริ่มขยายตัวออกไป ก่อนที่จะเกิดอนุภาคมูลฐาน อะตอม และโมเลกุล ต่าง ๆ ขึ้นตามมาหลังจากนั้น ทั้งแรงระเบิดดังกล่าว ยังทำให้เกิดแรงดันระหว่างกาแล็กซีต่าง ๆ ให้ห่างกันออกไปเรื่อย ๆ ซึ่งแรงดันที่ถือว่าเป็นวิวัฒนาการของเอกภพมีอยู่แรง 2 แรง คือ แรงดันออกหลังจากการระเบิดครั้งใหญ่ และแรงโน้มถ่วงดึงดูดให้เอกภพเข้ามารวมตัวกัน ซึ่งทั้ง 2 แรงดังกล่าวเป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดลักษณะของเอกภพอีกด้วย 




   ทฤษฎีบิกแบง 



   ทฤษฎี “บิกแบง” (Big Bang Theory) เป็นทฤษฎีทางดาราศาสตร์ที่กล่าวถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมาของจักรวาล ปัจจุบันเป็นทฤษฎีที่เป็นที่เชื่อถือและยอมรับมากที่สุด ทฤษฎีบิกแบงเกิดขึ้นจากการสังเกตของนักดาราศาสตร์ที่ว่า ขณะนี้จักรวาลกำลังขยายตัว ดวงดาวต่าง ๆ บนท้องฟ้ากำลังวิ่งห่างออกจากกันทุกที เมื่อย้อนกลับไปสู่อดีต ดวงดาวต่างๆ จะอยู่ใกล้กันมากกว่านี้ และเมื่อนักดาราศาสตร์คำนวณอัตราความเร็วของการขยายตัวทำให้ทราบถึงอายุของจักรวาลและการคลี่คลายตัวของจักรวาล รวมทั้งสร้างทฤษฎีการกำเนิดจักรวาลขึ้นอีกด้วย ตามทฤษฎีนี้ จักรวาลกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณ ๑๕,๐๐๐ ล้านปีที่แล้ว ก่อนการเกิดของจักรวาล ไม่มีมวลสาร ช่องว่าง หรือกาลเวลา จักรวาลเป็นเพียงจุดที่เล็กยิ่งกว่าอะตอมเท่านั้น และด้วยเหตุใดยังไม่ปรากฏแน่ชัด จักรวาลที่เล็กที่สุดนี้ได้ระเบิดออกอย่างรุนแรงและรวดเร็วในเวลาเพียงเศษเสี้ยววินาที (Inflationary period) แรงระเบิดก่อให้เกิดหมอกธาตุซึ่งแสงไม่สามารถทะลุผ่านได้ (Plasma period) ต่อมาจักรวาลที่กำลังขยายตัวเริ่มเย็นลง หมอกธาตุเริ่มรวมตัวกันเป็นอะตอม จักรวาลเริ่มโปร่งแสง ในทางทฤษฎีแล้วพื้นที่บางแห่งจะมีมวลหนาแน่นกว่า ร้อนกว่า และเปล่งแสงออกมามากกว่า ซึ่งต่อมาพื้นที่เหล่านี้ได้ก่อตัวเป็นกลุ่มหมอกควันอันใหญ่โตมโหฬาร และภายใต้กฎของแรงโน้มถ่วง กลุ่มหมอกควันอันมหึมานี้ได้ค่อยๆ แตกออก จนเป็นโครงสร้างของ “กาแลกซี” (Galaxy) ดวงดาวต่าง ๆ ได้ก่อตัวขึ้นในกาแลกซี และจักรวาลขยายตัวออกอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน  



การกำเนิดโลก




  นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าโลกได้ถือกำเนิดขึ้นมาเมื่อประมาณ 4,600 ล้านปีมาแล้ว โดยเกิดจากกลุ่มแก๊สและฝุ่นผงในอวกาศที่มีการควบแน่นจนเป็นก้อน ผิวโลกในช่วงนั้นจะมีลักษณะเป็นของเหลวที่ร้อนจัดต่อมาเย็นตัวลงจนเกิดการแข็งตัว บรรยากาศของโลกในสมัยแรกยังไม่มีแก๊สออกซิเจน ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยแก๊สเฉื่อย นอกจากนี้ผิวโลกยังไม่มีน้ำในสภาพของเหลวเลย จะเห็นได้ว่าองค์ประกอบของโลกยุคดึกดำบรรพ์นี้มีความแตกต่างจากโลกยุคปัจจุบันมาก อย่างไรก็ตามเมื่อระยะเวลาผ่านไปประมาณ 1,000 ล้านปีหลังจากกำเนิดโลก สิ่งมีชีวิตก็ถือกำเนิดขึ้นและเกิดวิวัฒนาการเรื่อยมา จนในปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่าความหลากหลายในธรรมชาติเกิดมากมายเพียงใด



การกำเนิดสิ่งมีชีวิตชนิดแรก




  ไม่มีใครสามารถให้คำตอบได้อย่างแน่นอนว่าจริงๆแล้วสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นได้อย่างไร แต่นักวิทยาศาสตร์หลายท่านก็ตั้งสมมติฐานหรือทำการทดลองเพื่ออธิบายถึงกำเนิดของ
สิ่งมีชีวิต เช่น ในปี พ.ศ. 2467 เอ ไอ โอพาริน (A.I.Oparin) นักเคมีชาวรัสเซียมีแนวคิดว่าบรรยากาศของโลกสมัยแรกนั้นมีแก๊สไฮโดรเจนในปริมาณมาก และสามารถรวมตัวกับแก๊สอื่นๆในบรรยากาศ เช่น ออกซิเจน ไนโตรเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ จนเกิดเป็นสารประกอบต่างๆ เช่น มีเทนและแอมโมเนีย และเมื่อเวลาผ่านไปนานขึ้น สารประกอบเหล่านี้สามารถรวมตัวกันเป็นสารอินทรีย์ที่มีโมเลกุลซับซ้อน เช่น โมเลกุลของกรดอะมิโน 
กลีเซอรอล กรดไขมันและน้ำตาลเชิงเดี่ยว กระบวนการวิวัฒนาการทางเคมีนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและใช้เวลานานจนในที่สุดก็เกิดเป็นสิ่งมีชีวิตขึ้น   อ่านต่อ >>





ยุคทางธรณีวิทยา




  เมื่อสิ่งมีชีวิตถือกำเนิดขึ้นมาแล้ว ก็มีวิวัฒนาการจนมีความหลากหลายในธรรมชาติ เมื่อเวลาผ่านไปมีทั้งการถือกำเนิดสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ขึ้นและการสูญพันธุ์ไปของสิ่งมีชีวิตเดิมเช่นกัน
  ในปัจจุบันนักธรณีวิทยาและนักบรรพชีวินวิทยาสามารถแบ่งยุคทางธรณีวิทยาออกเป็น4 มหายุค ตามชนิดของซากดึกดำบรรพ์ที่พบได้ดังนี้
    1. มหายุคพรีแคมเบรียน (Precambrian Era)
   2. มหายุคพาลีโอโซอิก   (Paleozoic Era) 

   3. มหายุคมีโซโซอิก       (Mesozoic Era)
   4. มหายุคซีโนโซอิก       (Cenozoic Era) 

   อ่านเพิ่ม >>




ยุคน้ำแข็ง






  สองล้านห้าแสนปีก่อน ในช่วงปลายยุคพลีโอซีน อุณหภูมิของโลกได้ลดต่ำลง โดยส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากการเกิดคอคอดปานามา ที่ปิดกั้นการไหลของน้ำในมหาสมุทร ส่งผลให้กระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีมพัดไปทางขั้วโลกเหนือ ก่อให้เกิดหยาดน้ำฟ้าตกลงมาเป็นหิมะ ทำให้ธารน้ำแข็งของโลกก่อตัวหนาขึ้น ส่งผลให้สภาพอากาศของโลกเย็นลงกว่าเดิมและก่อให้เกิดธารน้ำแข็งขนาดใหญ่ในหลายพื้นที่
  สภาพดังกล่าว ส่งผลให้เกิดยุคน้ำแข็งขึ้นกว่า 20 ครั้ง และเมื่อเข้าถึงช่วงยุคพลีสโตซีนตอนปลายเมื่อราวหกหมื่นปีที่แล้ว พืชน้ำแข็งก็ได้ปกคลุมดินแดนตอนเหนือของโลก อันได้แก่ บางส่วนตอนเหนือของเอเชีย ทวีปยุโรป  และ ทวีปอเมริกาเหนือ


ต้นกำเนิดของมนุษย์


วิวัฒนาการของมนุษย์


   มนุษย์มีสายวิวัฒนาการมาจากสัตว์กลุ่มไพรเมต (primate) ซึ่งถือเป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีพัฒนาการสูงที่สุด สืบเชื้อสายมาจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีรก อาศัยและห้อยโหนอยู่บนต้นไม้เป็นส่วนใหญ่ ลักษณะสำคัญคือ สมองเจริญดีและมีขนาดใหญ่ มีขากรรไกรสั้นทำให้หน้าแบน ระบบสายตาใช้งานได้ดีโดยมองไปข้างหน้า ระบบการดมกลิ่นไม่ดีเมื่อเปรียบเทียบกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น มีเล็บแบนทั้งนิ้วมือและนิ้วเท้า มีพฤติกรรมทางสังคมที่ซับซ้อน สัตว์ในกลุ่มไพรเมต ได้แก่ กระแต ลิงลม ลิง ชะนี อุรังอุตัง กอริลล่า ชิมแพนซี และมนุษย์  อ่านต่อ >>





☺☺☺
☺☺..ขอขอบคุณทุกคนที่เข้ามาเยี่ยมชมบลอกนี้ครับ ขอบคุณครับ☺☻..
☺☺☺




เอกสารอ้างอิง..
http://hilight.kapook.com/view/55997
http://www.baanjomyut.com/library/bigbang/03.html
http://www.il.mahidol.ac.th
http://www.lesa.biz/earth/lithosphere/geologic-time/fossil